จดหมายข่าวฉบับที่ 6 เดือนพฤาภาคม - กรกฏาคม 2567
|
|
|
|
เรื่องน่าสนใจประจำฉบับ
- การประชุม Child Protection Summit,Bangkok 2024 โดย สมเด็จพระนางเจ้า สุทิดาฯ พระบรมราชินี แห่งประเทศไทย และ สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ วันที่ 16 พฤษภาคม 2567
- กิจกรรมรณงค์ วันที่ 30 เมษายน วันรณรงค์ยุติการลงโทษทางกายต่อเด็กสากล (International Day to End Corporal Punishment of Children)
- สุขสันต์วันเล่นสากล (International Day of Play) วันที่ 11 มิถุนายนของทุกปีคือวันเล่นสากล
- รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024
- ประเทศลาวเป็น ประเทศลำดับที่ 66 ของโลกที่ห้ามการลงโทษทางร่างกายของเด็ก และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน!
|
|
|
|
|
For the English newsletter please click Here
or scroll down to the end and click at
'view the entire message'
|
|
|
สารจากกรรมการ
สวัสดีสมาชิกและผู้รับจดหมายข่าวทุกท่าน จดหมายข่าวฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ 2 ของปี 2567 ขอบคุณทุกท่านที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนปฏิบัติงานแห่งนี้ ในปีนี้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ยังคงมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมมือกันในการขยายงานการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกเพื่อให้เกิดการคุ้มครองเด็ก ความอยู่ดีมีสุข และพัฒนาการที่ดีของเด็กในประเทศไทย กิจกรรมในปี 2567 นี้จะยังคงมุ่งเน้นที่การจัดสัมมนาออนไลน์ (webinar) ทุก ๆ 5 สัปดาห์ การออกจดหมายข่าวราย 3 เดือน และ การอัพโหลดแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ลงใน website เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัย ข้อมูลของหลักสูตรการอบรม กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์และบทเรียนที่ได้รับทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตน ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงร่วมกันในการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก
โปรดมีส่วนร่วมกับชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ของเราต่อไปและให้มากขึ้นด้วยการสมัครเป็นสมาชิกที่ www.thaipositiveparentingcommunity.org และติดต่อผู้ประสานงานของชุมชนฯ เพื่อแนะนำหรือส่งข้อมูลของท่าน เช่น หลักสูตร คู่มือ งานวิจัย บทความ ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก ด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็กเพื่อนำลงเผยแพร่ใน website และในจดหมายข่าว หรือ หากท่านมีงานกิจกรรมที่อยากจะประชาสัมพันธ์ก็สามารถส่งมาให้ได้ นอกจากนี้ หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ที่จะช่วยให้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ สามารถทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรและมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสมาชิกและสาธารณะให้มากขึ้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย เราก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับข้อเสนอแนะเหล่านั้นไว้พิจารณา โปรดส่งข้อเสนอแนะของท่านมาได้ตลอดเวลา
กรรมการและคณะทำงานของชุมชนฯ ขอให้คำมั่นว่าจะพยายามสรรหากิจกรรมที่สร้างสรรค์ และ แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มานำเสนอแก่สมาชิกของชุมชนฯ ทั้งใน webinar ใน website และจดหมายข่าวนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ารวมถึงเพื่อร่วมกันผลักดันให้แนวคิดและวิธีการดูแลเด็กเชิงบวกขยายออกไปทั่วประเทศไทย
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
ดร.แอมมาลี แม็คคอย
|
|
|
เพื่อให้สมาชิกได้รู้จักพันธกิจของกันและกัน และมีช่องทางในการติดต่อประสานงานในอนาคต ดังนั้นในฉบับนี้เราจึงขอแนะนำ
1. คิด for คิดส์ - ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว
เกี่ยวกับหน่วยงาน คิด for คิดส์ ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว มีชื่อเล่นว่า คิด for คิดส์ เป็นศูนย์วิจัยและสื่อสารความรู้เพื่อตอบโจทย์อนาคต มุ่งวิเคราะห์ เผยแพร่ความรู้ ออกแบบ และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และการเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานสนับสนุนทางวิชาการ ให้กับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย
คิด for คิดส์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (101 Public Policy Think Tank, 101 PUB) บริษัท วันโอวัน พับลิโก้ จำกัด
หากต้องการติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงการสืบค้นข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลนโยบายสาธารณะ เกี่ยวกับเด็กและครอบครัว สามารถเข้าเยี่ยมชม ที่เวบไชต์ด้านล่างนี้....
https://kidforkids.org
|
|
|
|
|
|
|
การประชุม Child Protection Summit,Bangkok 2024 ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ
จัดโดย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินีประเทศไทย
ร่วมกับสมเด็จพระราชินีซิลเวียเเห่งสวีเดน และมูลนิธิ World Childhood ในพระราชินูปถัมภ์
สมเด็จพระราชินีซิลเวียเเห่งสวีเดน |
|
|
การประชุม Child Protection Summit,Bangkok 2024 โดย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระราชินีแห่งประเทศไทย และ สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 จัดโดยมูลนิธิ World Childhood ในพระราชินูปถัมภ์ สมเด็จพระราชินีซิลเวียเเห่งสวีเดน และ องค์กร Safeguard Kids จัดการประชุมการคุ้มครองเด็กระสูง โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระราชินีแห่งประเทศไทย และ สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน เข้าร่วม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 900 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทยเข้าร่วมประชุมได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พล.ต.ท.ทวี สมสมรรถนะ รมต. กระทรวงยุติธรรม นายวราวุธ ศิลปะอาชา รมต.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นส.อโณชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฏีกา และผู้ว่าราชการจังหวัดจากทั่วประเทศ หนึ่งในฐานะของผู้นำเสนอและอภิปราย ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา ประธานมูลนิธิศานติวัฒนธรรม ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความสำคัญของโครงการการเลี้ยงดูเด็กโดยมีประจักษ์พยานด้านการดำเนินงาน เช่น การเลี้ยงดูเด็กเล็กที่มีสุขภาพตลอดชีวิต โดยได้มีการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระดับชาติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์การเลี้ยงดูเด็กระดับจังหวัดเพื่อสนันสนุนและการส่งมอบโครงการการเลี้ยงดูเด็กต่อไป
|
|
|
กิจกรรมและเชิญชวนร่วมรณรงค์ "ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก"
|
|
|
กลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ จัดกิจกรรมและเชิญชวนร่วมรณรงค์ "ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก"
เนื่องในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี เป็นวันยุติการลงโทษทางกายต่อเด็กสากล หรือ International Day to End Corporal Punishment of Children กลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟได้ผลิตเหล่านักแสดงหน้าใหม่จากกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ดังกล่าว นำเด็กและเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะการแสดงละคร ได้นำเสนอการแสดงครั้งนี้ในวันที่ 28 เมษายน ช่วงเวลาประมาณ 18.00 – 20.00 น. จำนวน 2 รอบการแสดง ณ บริเวณถนนคนเดินวันอาทิตย์ บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตรย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นักแสดงเด็กและเยาวชนได้ทำการแสดง 2 รอบ จำนวน 3 ประเด็น คือ
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนผ่านการทำร้ายเพื่อนในชั้นเรียน ความรุนแรงที่เกิดจากครอบครัวที่มีพ่อเป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และสุดท้ายความรุนแรงบนโลกโซเซี่ยลมีเดีย หรือบนแฟลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง เยาะเย้ยเรื่องเนื้อตัวร่างกาย ความไม่สวย สีผิวและภาพลักษณ์ภายนอก เหล่านักแสดงหน้าใหม่จำนวน 15 คนเหล่านี้ได้ผสมผสานกับทักษะการแสดงละครและถ่ายทอดผ่านการแสดงละครข้างถนน
|
|
|
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เชิญ รณรงค์ยุติการลงโทษทางกายต่อเด็กสากล
|
|
|
|
|
วันที่ 30 เมษายน วันรณรงค์ยุติการลงโทษทางกายต่อเด็กสากล (International Day to End Corporal Punishment of Children) สภาเด็กเเละเยาวชนเเห่งประเทศไทย เชิญชวนรณรงค์ ยุติ เลิก ไม่ทำแล้ว #ไม่ตีเด็ก เปลี่ยนมา #กอดแทน มาช่วยกันสร้างโลกที่ไร้ความรุนแรงเพื่อลูกหลานของเรา ให้มีคุณภาพชีวิตดีกว่าการถูกตี ได้พัฒนาศักยภาพที่สมวัย สุขภาพกายและใจ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังความรักอย่างยั่งยืน |
|
|
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)
และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) |
|
|
เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา EF Facilitator ภายใต้โครงการภาคี ดาว-อีเอฟ พัฒนาเด็ก กทม. (DOW-EF Bangkok Partnership) เพื่อยกระดับบุคลากรในสังกัด กทม. ที่มีบทบาทสำคัญและมีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเรียนรู้และขยายผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นเด็กดีและเก่งด้วยการส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Functions: EF)
ผ่านการเป็นวิทยากร ที่ปรึกษา มีส่วนร่วมวางแผนและสร้างกลยุทธ์การขับเคลื่อนงานส่งเสริมทักษะสมอง EF และสร้างการเรียนรู้สู่ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู และโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.อรทัย พงศ์รักธรรม ผู้จัดการแผนกกิจการด้านความยั่งยืน ร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 ท่านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย อาทิ สำนักพัฒนาสังคม สำนักการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักอนามัย ฯลฯ ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร |
|
|
11 มิถุนายน ของทุกปี วันเล่นสากล
|
|
|
สุขสันต์วันเล่นสากล (International Day of Play) วันที่ 11 มิถุนายนของทุกปีคือวันเล่นสากล หรือ International Day of Play เป็นวันที่ทางสหประชาชาติ (UN) กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเล่น ทั้งนี้ทาง International Play Association (IPA) ถือว่าเป็นหนึ่งในอีกหลายสิบองค์กรที่เป็นกำลังหลักในการจัดแคมเปญวันเล่นสากลนี้ขึ้น โดยต้องการให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน และพื้นที่เรียนรู้ทั่วประเทศเข้าใจถึงความสำคัญของการเล่น และลุกขึ้นมาจัดกิจกรรม เปิดพื้นที่ และให้อิสระในการเล่นกับเด็ก
.ทั้งนี้เป้าหมายของเราไม่ใช่แค่การให้ความสำคัญกับการเล่นเพียงแค่วันนี้เพียงวันเดียวในหนึ่งปี แต่การเล่นคือสิทธิพื้นฐานที่เด็กทุกคนมี เราในฐานะพ่อแม่ คุณครู หรือคนทั่วไป ควรให้อิสระให้เด็กได้เล่นในทุก ๆ วัน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้ง่าย ๆ คือ
- “สนับสนุน” เด็ก ๆ ด้วยการจัดสรรเวลาและโอกาสให้เล่นมากขึ้น รวมถึงการเล่นในโรงเรียน
- “ปกป้อง” สิทธิ์ในการเล่นของเด็ก โดยการสร้างพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ ซึ่งรวมไปถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- “เคารพ” สิทธิ์ของเด็กโดยการให้อิสระเขาในการตัดสินใจในการเล่นของเรา
- “ส่งเสริม” ให้เด็กพัฒนาทักษะทางสังคม ผ่านการเล่น
ดูข้อมูลเกี่ยวกับวันเล่นสากล (International Day of Play) ได้ที่ https://www.internationaldayofplay.org/ / https://www.facebook.com/letsplaymoreTH
|
|
|
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 พลังของการเล่น The Power of Play
วันที่ 28 มิถุนายน 256
|
|
|
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 พลังของการเล่น The Power of Play วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 08.20 - 12.15 น. มีกิจกรรม บรรยายพิเศษ “มหิดลกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” บรรยายโดย ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปาฐกถาเกียรติยศ นิตยา คชภักดี เริ่มที่ “เล่น” บรรยายโดย คุณนิรมล เมธีสุวกุล พิธีกรและผู้ควบคุมการผลิตรายการสารคดี
“ทุ่งแสงตะวัน” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน
ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|
|
|
|
1. งานเดินวิ่งการกุศล Run Together for Autism "วิ่งด้วยกัน รันเพื่อ...น้อง” วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567
การวิ่ง คือ ยาวิเศษ การวิ่งรายการนี้ “วิเศษยิ่งกว่า” เพราะงานวิ่งครั้งนี้ เงินรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่าย จะถูกส่งมอบแก่ สถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
เพื่อ มอบความสุขและเติมพลังให้น้องออทิสติก ผ่านโครงการต่างๆของสถาบัน Beyond the Spectrum ร่วมกับ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ขอเชิญพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักวิ่งทุกคนมาร่วมงานเดินวิ่งการกุศล Run Together for Autism "วิ่งด้วยกัน รันเพื่อ...น้อง” วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 นี้ ณ มหาวิทยาลัย มหิดล ศาลายา สนใจสมัครร่วมวิ่งเพื่อ..น้อง ต้องกดที่ลิงค์นี้ได้เลย https://www.runlah.com/events/rtfa
ติดตามงานได้ที่ https://www.facebook.com/runtogetherforautism
สอบถามข้อมูลได้ทาง Facebook fan page: RUN TOGETHER for AUTISM “ วิ่งด้วยกัน รันเพื่อ..น้อง ” ถ้าคุณรักการวิ่ง มาวิ่งด้วยกัน รันเพื่อ...น้อง
|
|
|
|
|
1. รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024
เด็ก เยาวชน และครอบครัว ‘เปราะบาง’ เผชิญปัญหาอย่างไรในชีวิต? รัฐบาลมองเห็นสถานการณ์เฉพาะของพวกเขา และดำเนินนโยบายตอบสนองได้ดีแค่ไหน? ฤๅพวกเขายัง ‘ไม่ถูกมองเห็น’ จากรัฐและสังคมดีพอ? คิด for คิดส์ – ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) กับ 101 PUB - 101 Public Policy Think Tank ชวนมาร่วมหาคำตอบจากการแถลงรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024 และวงเสวนาเข้าใจชีวิตเด็กและครอบครัวเปราะบาง-หาทางแก้ปัญหาและเติมฝันของพวกเขาให้ดีกว่าเดิม ในงานเสวนาสาธารณะ "เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น: รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2567
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://101pub.org/child-family-situation-report-2024/
|
|
|
|
|
2. ผลสำรวจ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด”
คนส่วนใหญ่หนุนรัฐเพิ่มเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด! 06 มิ.ย.2567 - สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,243 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า รัฐบาลมีโครงการ “เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด” เดือนละ 600 บาท ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 พบว่า 76.51%บอกรู้ 23.49% บอกไม่รู้
2.ประชาชนคิดว่านโยบายนี้มีผลกระทบอย่างไรต่อสังคมไทย พบว่า 74.74% ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร 63.23% ส่งผลให้เด็กแรกเกิดได้รับการดูแลที่ดีขึ้น และ 41.19% ส่งผลให้เด็กและครอบครัวสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้มากขึ้น
3.ประชาชนคิดว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลควรจะมีจำนวนเท่าใดต่อเดือนเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พบว่า 43.20% ควรเป็น 1,000 - 3,000 บาท 29.44% มากกว่า 3,000 บาท 23.17% มากกว่า 600 บาทแต่ไม่เกิน 1,000 บาท และ 4.19% 600 บาทเหมาะสมแล้ว
4. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ หากรัฐบาลจะขยายให้ทุกครอบครัวที่มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี ได้รับเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้ 81.01% เห็นด้วย และ 18.99% ไม่เห็นด้วย เพราะเด็กในครอบครัวที่มีฐานะไม่ควรได้, เป็นภาระต่องบประมาณของประเทศมากเกินไป, ครอบครัวควรพึ่งพาตัวเอง ควรมีลูกเมื่อพร้อม, มีนโยบายอื่นที่สำคัญกว่า
5.ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนแก่ทุกครอบครัวที่มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี โดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้ ด้วยเหตุผลใด พบว่า 74.09% ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรในช่วงวัยเด็กซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 52.53% ช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย และ 49.32% เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
6.ประชาชนอยากให้รัฐบาลมีการช่วยเหลือเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในเรื่องใดอีกบ้าง พบว่า 66.85% เพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 57.92% เพิ่มเงินอุดหนุนให้ครอบครัวยากจนหรือมีคนพิการ 46.10% เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปก็ควรจะได้เงินอุดหนุนด้วย 43.20% ปรับปรุงบริการต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับเด็กให้เข้าถึงสะดวกมากขึ้น และ 41.03% ให้เงินอุดหนุนตั้งแต่ตั้งครรภ์ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaipost.net/x-cite-news/599384/
|
|
|
|
|
|
3. รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024
โดยความร่วมมือระหว่าง สสส. และ 101 PUB นำเสนอสถานการณ์ของเด็ก เยาวชนและครอบครัวกลุ่มเปราะบาง 4 กลุ่ม 'ที่ไม่ถูกมองเห็น' มากเท่าที่ควร เด็กและเยาวชนจนเมือง: เมืองศูนย์กลางแห่งโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคความฝัน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งโอกาสในทุกๆ ด้าน เป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา 83 แห่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.3 ของทั้งประเทศ มีอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:542 ดีกว่าค่าเฉลี่ยประเทศถึงสามเท่า มหานครแห่งนี้มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ และเป็นแหล่งรวมตำแหน่งงานทักษะสูงถึงร้อยละ 19.6 ของไทย ทว่าเด็กและครอบครัวในชุมชนจนเมืองซึ่งอยู่ในใจกลางกรุงเทพกลับไม่สามารถเข้าถึงโอกาสเหล่านี้ เพราะในเวลาเดียวกัน ชีวิตในเมืองก็เต็มไปด้วยต้นทุนแฝงที่ขวางกั้นไม่ให้พวกเขาเอื้อมถึงฝัน
ดาวน์โหลดร่างรายงานฉบับเต็ม https://kidforkids.org/child-family-situation-report-2024/
|
|
|
6. งานวิจัย: การพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ผู้วิจัย:
1. มณฑิรา บุทเสน
โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
2. บูรณศักดิ์ วงศ์ศิริภักดิ์ดี
โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
3. ทิพย์ภาภรณ์ แย้มใส
โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
4. พิศตะวัน สุวจันทร์
โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
วิธีวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
วารสาร: วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
ปี: 2567
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/263569
|
|
|
|
|
7. งานวิจัย: โครงการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี ในประเทศเวียดนาม
ผู้วิจัย:
1. Troung Hoang Viet,
Vietnam National University
2. Sutham Nanthamongkolchai
3. Chockchai Munsawaengsub
4. Supachai Pitikultang
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง
วารสาร:Journal of Primary Care and Community Health, National Libraly of Nedicine
ปี: 2565
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35575427/ |
|
|
|
|
1. คู่มือเลี้ยงลูก 6-12 ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย ‘สามเหลี่ยมสมดุล’
ตัวช่วยสำหรับพ่อแม่
|
|
|
คู่มือเลี้ยงลูก 6-12 ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ ตัวช่วยสำหรับพ่อแม่
บ้านไหนเป็นแบบนี้บ้าง?
● พอลูกอยู่นิ่งๆ กับหน้าจอแล้วคิดว่าเด็กมีสมาธิดี ดีกว่าลูกวิ่งซนให้ปวดหัว
● ขอแค่ลูกกินเก่งๆ ตัวจ้ำม่ำ ก็ดูแข็งแรงดี กว่ากินน้อยผอมโซอีก
● ลูกจะนอนแล้วตื่นเวลาไหนก็ได้หมด เอาที่ลูกได้นอนเยอะๆ ก็พอ
รู้ไหมว่า พฤติกรรมลูกแบบนี้อาจจะแปลว่า แต่ละด้านของสามเหลี่ยมไม่สมดุลแล้ว ซึ่งมันจะกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสุขภาพของเด็กได้ คู่มือเลี้ยงลูก 6-12 ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำขึ้นเล่มนี้ จะมาตอบข้อสงสัยของพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กิจวัตรประจำวัน อาหารการกิน ไปจนถึงการพักผ่อนและเวลานอนหลับอย่างเพียงพอของลูก โดยเนื้อหาแบ่งให้เข้าใจง่ายเป็นบท ‘วิ่งเล่น’ ‘กินดี’ ‘นอนพอ’
วิ่งเล่น: ชวนพ่อแม่สร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกได้วิ่งเล่น โดยบอกเล่าประโยชน์ของการทำกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม พร้อมแนะนำ 12 กิจกรรมเล่นง่ายๆ ที่บ้านได้ทุกวัน สอดแทรกแบบฝึกหัดที่ช่วยให้ทุกคนในครอบครัวลดพฤติกรรมติดหน้าจอได้
กินดี: อาหารส่งผลต่อร่างกายและสติปัญญาของลูกได้อย่างไร หาคำตอบได้ใน เนื้อหา ‘กินดี’ แถมตัวช่วย ‘สัดส่วนจานสุขภาพ’ ให้พ่อแม่จัดอาหารแต่ละมื้อของลูกได้อย่างสมดุลอย่างง่าย ขั้นตอนการอ่านฉลากโภชนาการให้ถูกต้อง และตารางวางแผนมื้ออาหารให้ลองทำด้วยตัวเอง
นอนพอ: พบกับ ‘5 ความมหัศจรรย์ของร่างกาย เมื่อนอนพอ!’ ที่ทำให้รู้ว่าการ ‘นอนที่เพียงพอและมีคุณภาพ สำหรับเด็กสำคัญอย่างไร เด็กวัยไหนควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวัน พ่อแม่จะช่วยจัดตารางการเข้านอน สิ่งแวดล้อมในห้องนอน และสร้างพฤติกรรมการนอนที่เหมาะสมให้ลูกอย่างไร ในคู่มือเล่มนี้ยังมีกราฟที่จะช่วยให้พ่อแม่ประเมินการเจริญเติบโตของลูกได้ว่า น้ำหนักอิงกับส่วนสูงนั้นสมดุลหรือไม่ พร้อมทั้งเนื้อหาอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับพ่อแม่ที่กำลังหาข้อมูลและวิธีการที่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการตามวัยได้อย่างเหมาะสม แบบอ่านเข้าใจง่ายและมีแบบฝึกหัดให้ลองปฏิบัติตาม ดาวน์โหลดไว้อ่านฟรีได้เลย! คู่มือเลี้ยงลูก 6-12 ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย ‘สามเหลี่ยมสมดุล’
ดาวโหลดฉบับเต็มได้ที่ https://activekidsthailand.com/wp-content/uploads/2024/
|
|
|
|
|
|
2. วิดีโอการเลี้ยงดูเด็กที่สนุกสนาน การเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิต (PLH)
มูลนิธิศานติวัฒนธรรม ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ รวมถึงโครงการ Parenting for Lifelong Health (PLH) ได้พัฒนาชุดวิดีโอเพื่อแสดงตัวอย่างการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกและ ส่งเสริมการเล่นของเด็ก และเพื่อใช้ในโปรแกรม PLH ParentChat และ PLH Young Children วิดีโอเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ทักษะการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการแลกเปลี่ยนของกลุ่มผู้ปกครอง ตลอดจนสถานการณ์และความท้าทายที่ผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-17 ปีในประเทศไทยอาจเผชิญใน ชีวิตประจําวัน มีให้บริการในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คุณสามารถรับชม (และแชร์!) ได้ที่ช่อง YouTube ของ PLH คลิกที่นี่ : https://www.youtube.com/@parentingforlifelonghealth5478/videos
|
|
|
|
|
3. คู่มือเสริมสร้างความเข้มแข็งครอบครัว
การสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว สามารถป้องกันไม่ให้พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการดูแบบอื่น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต คู่มือเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวเป็นโครงการของ ACT ที่มุ่งแนะนำผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิธีดีที่สุดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับการดุแลแบบอื่นๆ เอกสารฉบับนี้เป็นผลจากการศึกษาจากองค์กรต่างๆ 10 องค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครอบครัวในประเทศไทย และคู่มือนี้มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวในกลุ่มเปราะบาง
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://alternativecarethailand.com/download-family-strengthening-handbook/
|
|
|
|
|
|
4. คู่มือการจดทะเบียนการเกิด และกระบวนการพัฒนาสิทธิในประเทศไทย
คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Ending Child Statelessness in Thailand : Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่ง สหประชาชาติ จัดทำ ปี 2564
แม้จะมีข้อกฎหมายนโยบายต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อการจัดการกับผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคล แต่เราพบว่าไม่ใช่ ทุกคนที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อกฎหมายนโยบายต่าง ๆ ได้ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติดังนั้นแม้จะมีกฎหมายนโยบายออกมา บังคับใช้แต่หากไม่สามารถเข้าถึงการรับรู้ของประชาชนได้ก็ย่อมเสมือนว่ากฎหมายนโยบายนั้นไม่อาจบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เพียงแต่เฉพาะตัวเจ้าของปัญหา (Problem Owner) เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายรวมถึงตัวของผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหา (Social Supporter) ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ ได้เข้าถึงและ เข้าใจข้อกฎหมายนโยบายต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://www.unicef.org/thailand/reports/manual-birth-registration-and-procedures-facilitating-right-thai-nationality
|
|
|
|
|
1. งานสัมมนาของชุมชนผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (TPP CoP) ที่ผ่านมา
การสัมมนาออนไลน์ (webinar) ครั้งที่ 9
จัดขึ้นเมื่อ วันอังคาร ที่ 2 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00 น. – 15.30 น.
โดยมีวิทยากร 2 ท่านนำเสนอหัวข้อ ดังนี้
1.ดร.โซเฟีย แบคเฮาส์, มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม :
หัวข้อ แนวทางขององค์การอนามัยโลกในการเลี้ยงดูเด็ก
2.รศ. นพตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์,มหาวิทยาลัยมหิดล : หัวข้อ ลดการทำร้ายเด็กโดยการดูภาพยนตร์ ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ดูบันทึกการสัมมนาย้อนหลังที่
https://youtu.be/evtqqkus1hE?si=Y1VbGH7q6SYaJzBg
กำหนดการงานสัมมนาออนไลน์ (webinar) ของ TPP CoP ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
- Webinar ครั้งที่ 10 วันที่ 10 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น.- 16.00 น. หัวข้อ "การปรึกษาเพื่อพัฒนานโยบายการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย"
- Webinar ครั้งที่ 11 วันที่ 24 กันยายน 2067 เวลา 14.00 น.- 16.00 น. หัวข้อ "การมีส่วนร่วมของผู้ชายในการเลี้ยงดูเด็ก"
|
|
|
|
|
2. การสัมมนาออนไลน์ของ Net Pama
โอกาสดีๆ มาแล้วสำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ/มูลนิธิ/ภาคีเครือข่าย สสส. ที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัว และต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง หรือทีมงานสหสาขาวิชาชีพ
ให้สามารถเป็นวิทยากรสำหรับจัดห้องเรียนพ่อแม่ได้!!
ด้วยโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการเปิดห้องเรียนพ่อแม่ด้วยเน็ตป๊าม้า สนับสนุนโดย สสส. ดำเนินโครงการโดย ศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล และทีม ต้องการสำรวจความต้องการของผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวในพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้ทำงานฯ ให้มีความสามารถในการเปิดห้องเรียนพ่อแม่โดยใช้หลักสูตร Parent Management Training (PMT) และเน็ตป๊าม้า โดยทางโครงการฯ จะไปจัด workshop ให้ในพื้นที่ที่มีผู้สนใจ
(ระหว่างเดือน กันยายน 2567 ถึง มิถุนายน 2568) ฟรี! โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ (สำหรับ level 1-2)
หากท่านใดสนใจอยากให้ทางโครงการฯ ลงไปจัด workshop ในจังหวัดของท่าน กรุณากรอกแบบฟอร์มตาม link นี้ https://bit.ly/3yclfc7
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณณัฐพร (ปู) โทร 06-2525-9000
|
|
|
|
|
3. งานประชุมวิชาการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 46 เรื่อง "เด็กเล่นแล้วได้อะไร รู้ได้ โดยการวัดและประเมินการเล่น"
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญผู้ดูแลเด็ก ครูปฐมวัย ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมวิชาการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 46เรื่อง "เด็กเล่นแล้วได้อะไร รู้ได้ โดยการวัดและประเมินการเล่น"ในวันที่ 15 กันยายน 2567โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนโดยสแกน QR Code ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ หรือคลิ๊กที่ลิ้งก์นี้ :https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/280.
หมายเหตุ โปรดลงทะเบียนก่อนวันที่ 13 กันยายน 2567
สอบถามเพิ่มเติม Admin Kimmy : โทร 082-321-7721
|
|
|
|
|
งาน กิจกรรม และความเคลื่อนไหวนานาชาติ |
|
1. ประเทศลาวเป็น ประเทศลำดับที่ 66 ของโลก
ที่ห้ามการลงโทษทางร่างกายของเด็ก และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน!
สปป.ลาวได้บรรลุการห้ามการลงโทษทางร่างกายของเด็กอย่างสมบูรณ์ด้วยการตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเด็ก พ.ศ. 2549 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2566) กฎหมายใหม่นี้ประกาศใช้โดยพระราชกฤษฎีกาประธานาธิบดีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 และประกาศอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นวันสากลถึง #EndCorporalPunishment ด้วยการปฏิรูปกฎหมายนี้ สปป.ลาวกลายเป็นประเทศ ลำดับที่ 66 ของโลก และเป็นประเทศในอาเซียนแห่งแรกที่ตระหนักถึงสิทธิของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองจากการลงโทษที่รุนแรงทั้งหมด
ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ Lao PDR และ how Lao PDR prohibited all corporal punishment, and what it is doing to put the law into practice
|
|
|
2. การยุติความรุนแรงต่อเด็ก ซึ่งเด็กทุกคนสมควรได้รับตามวัยของเด็ก
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้คํามั่นสัญญากับประชาคมโลกที่จะยุติความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ ตอนนี้ผ่านไปครึ่งทางของปี 2573 ความรุนแรงยังคงเป็นความจริงสําหรับเด็กครึ่งหนึ่งของโลก อนาคตของเด็กชายและเด็กหญิงหนึ่งพันล้านคนแขวนอยู่บนยอดคงเหลือ มีโอกาสและความจําเป็นที่จะเร่งความเร็ว เพื่อส่งมอบการเปลี่ยนแปลงในการคุ้มครองเด็ก การประชุมระดับรัฐมนตรีระดับโลกครั้งแรกว่าด้วยการยุติความรุนแรงต่อเด็กแสดงถึงช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ เพื่อจินตนาการถึงโลกที่เด็กทุกคนปลอดภัยในบ้าน โรงเรียน ชุมชน และทางออนไลน์ และให้คํามั่นสัญญาที่สอดคล้องกับความท้าทายในการคุ้มครองเด็กทั่วโลก งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2024 ที่เมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งนี้จัดขึ้นโดยรัฐบาลโคลอมเบีย โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวีเดน ยูนิเซฟ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยความรุนแรงต่อเด็ก และองค์การอนามัยโลก คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี พร้อมด้วยเด็ก เยาวชน ผู้รอดชีวิต และพันธมิตรภาคประชาสังคม จะรวมตัวกันเพื่อร่วมแสดง วิสัยทัศน์ร่วมกันและต่อสู้เพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ
สามารถศึกษาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ ;
https://endviolenceagainstchildrenconference.org.
|
|
|
จดหมายข่าวฉบับนี้เป็นจดหมายข่าว ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 เผยแพร่ช่วง เดือนสิงหาคม
และทั้งนี้จดหมายข่าวฉบับต่อไป จะเผยแพร่ต่อไปในเดือนกันยายน และธันวาคม 2567
หากท่านต้องการลงข้อมูลงานวิจัย กิจกรรมขององค์กร งานประชุมสัมมนา ฯลฯ ในจดหมายข่าวนี้
โปรดส่งข้อมูลมายังผู้ประสานงานโครงการ ฯ คุณชุตินันท์ สอนสมฤทธิ์
ที่อีเมล thaipositiveparentingcop@gmail.com
ขอขอบพระคุณทุกท่านสำหรบัการติดตามงานความเคลื่อนไหวกับคณะทำงานฯ
มูลนิธิศานติวัฒนธรรม |
|
|
-
Child Protection Summit, Bangkok 2024 by Her Majesty Queen Suthida of Thailand and Her Majesty Queen Sylvia of Sweden at the United Nations Office May 16, 2024
-
The campaign on April 30, International Day to End Corporal Punishment of Children
-
Happy International Day of Play, June 11 every year is International Day of Play.
-
Child and Family Situation Report 2024
-
Laos is the 66th country in the world to prohibit corporal punishment of children and the first country in the ASEAN region!
|
|
|
|
|
Message from the Co-Chairs
|
|
|
Greetings to all members and recipients of this newsletter. This newsletter is the second edition for the year 2024. I would like to thank all of you who are still part of this community. This year, the community continues to aspire to be the center for supporting and promoting knowledge exchange, in addition to collaborating, on expanding positive parenting work to ensure child protection, good well-being, and optimal development of children in Thailand. In the year 2024, activities will continue to focus on organizing webinars every 5 weeks, issuing a 3-month newsletter, and uploading various resources to the website so that members and participants can exchange and learn from research findings, training curriculum information, operational strategies, experiences, and lessons learned at both the national and international level. This is intended for members and participants to further apply these learnings in their own work, and to serve as a common voice in promoting positive child rearing.
Please continue to engage with our community of practice and contribute more to our ongoing efforts by signing up for membership at www.thaipositiveparentingcommunity.org . You can contact our CoP Coordinator to recommend or submit your materials such as courses, manuals, research, or articles on Positive Parenting Child development and protection to be published on the website and in the newsletter. Additionally, if you have an event that you would like to be publicized, you can send it to us. Furthermore, if you have any suggestions that could further help the community to work as a network of partners and interact more continuously with members and the public to advance positive parenting in Thailand, we would be happy to take those suggestions into consideration. Please feel free to send us your feedback at any time.
The Co-Chairs and the support team of the CoP would like to pledge to find more creative activities and useful resources to present to the members through the webinars, the website, and in this newsletter, to provide valuable resources and to collectively advance methods of positive child rearing throughout Thailand.
Best wishes
Asst. Prof. Dr. Sombat Tapnya
Asst. Prof. Dr. Panadda Thanasetkorn
Dr. Amalee McCoy
|
|
|
Currently, there are 76 organizations and individuals who have registered for membership in our CoP website |
|
|
1. Kid for Kids – The center for child and family policy and knowledge
Think for Kids - The center for child and family policy and knowledge. The center for child and family policy and knowledge, nicknamed “Kid for Kids,” serves as a center for research and communication aimed to address future challenges. The center focuses on analyzing and disseminating knowledge, as well as designing and driving public policies related to children, youth, and their families. Furthermore, the center serves as an academic support base for the well-being of children, youth, and families for the Office of the Thai Health Promotion Fund (Sor Sor Sor) and partners. Kid for Kids is a collaborative project between the Office of Child, Youth and Family Welfare, the Office of the Health Promotion Fund, and the Public Policy Knowledge Center for Change (101 Public Policy Think Tank, 101 PUB), One O-One Public Co., Ltd.
For more information, please visit: https://kidforkids.org/
|
|
|
|
|
|
|
Child Protection Summit, Bangkok Thailand 2024
|
|
|
May 16, 2024: High-Level Child Protection Summit with Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana of Thailand and Queen Silvia Renate of Sweden, at the UN Conference Centre in Bangkok, Thailand
The World Childhood Foundation and Safeguard Kids organized a High-Level Child Protection Summit with Queen Suthida and Queen Silvia in attendance, alongside approximately 900 participants. Many high-ranking Thai government officials participated, including Anutin Charnvirakul, Deputy Prime Minister; Pol. Col. Thawee Sodsong, Minister of Justice; Mr Varawut Silpa-archa, Minister of Social Development and Human Security; Ms. Anocha Chevitsophon, President of the Supreme Court; and provincial governors from across Thailand. As one of the panelists, Dr Sombat Tapanya, Chairperson of the Peace Culture Foundation, delivered remarks on the importance of evidence-based parenting programmes such as Parenting for Lifelong Health Young Children. He called for a national policy on parenting and establishing provincial-level parenting centers to support parenting program delivery.
|
|
|
Coalition Campaign "This Country Doesn't Hit Children" |
|
|
Gabfai Community Theatre Group is an organization that organizes training courses to train children and youth to be actors to demonstrate how children could be abused by parents or other persons in the form of theatrical performances. In honor of International Day to End Corporal Punishment of Children on April 30, 2024, the Community Theatre Group organized a street theatre performance at a walking street near Three Kings monument on 28th April 2024 in Chiang Mai.
The child and youth actors performed twice and covered three issues: fighting between friends in the classroom, child abuse by parents whereby the father figure displays examples of inappropriate behavior, and cyberbullying which can lead to violence on social media through the use of harsh words that mock the physical appearance of others. The performances involved 15 new actors who combined their theatrical skills to display through street performances.
|
|
|
International Day to End Corporal Punishment of Children on April 30 2024 |
|
|
|
|
International Day to End Corporal Punishment of Children on April 30 2024
The Thai Children and Youth Council launched the campaign “Stop beating children, give them a hug” to promote creating a world free from violence for our children and grandchildren, where they can have a better quality of life than being subjected to physical punishment, and can develop to their full potential, both physical and emotionally, through the power of love in a sustainable way. |
|
|
Dow-EF children development Bangkok Project
Bangkok Metropolitan Administration (BMA) |
|
|
Dow-EF children development Bangkok Project
On July 3 2024, the Bangkok Metropolitan Administration (BMA), together with Dow Thailand Group and R.L. Learning Group organized a workshop to develop EF (Executive Function) facilitators, under the Dow-EF children development Bangkok Project. The purpose of the workshop was to enhance personnel within BMA that play important roles and have the capacity to become leaders in leading learning initiatives and expanding the results of early childhood development through promoting frontal brain skills. Workshop participants were involved as consultants and facilitators in planning and strategizing to promote EF skills, and fostering the learning process for parents, managers, and teachers. Dr. Orathai Phongraktham, Manager of Sustainability Affairs Department, joined in welcoming more than 50 training participants from agencies related to early childhood, such as the Social Development Office, Education Bureau Educational Strategy Office, Health Department, etc., at Chao Phraya Room Bangkok City Hall.
|
|
|
International Play Day (International Day of Play)
International Playing Associations in Thailand
|
|
|
International Play Day (International Day of Play) is held on June 11th of every year and was established by the United Nations (UN) to raise awareness of the importance of play. The International Play Association (IPA) is considered as one of the main organizations that help to organize International Play Day campaigns. The aim is to promote all children-related sectors, including childcare centers[1] , schools, educational institutions, families, communities and learning spaces across the country to understand the importance of play, and to participate by organizing activities, opening up spaces, and giving children freedom to play. However, the goal is not just to focus on play on this particular day, but to recognize play as a basic right that every child deserves. We, as parents, teachers, or individuals, should support children the freedom to play every day. What we can easily do is, firstly, "support" children by allocating more time and opportunities for them to play, including playing in school. Secondly, we can “protect” children’s right to play by creating safe and accessible play spaces, including for children with special needs. Thirdly, we can “respect” children’s rights by allowing them the freedom to make decisions about their play. Fourthly, we can “promote” children’s social skills development through play. For more information about the International Day of Play, visit: https://www.internationaldayofplay.org/
https://www.facebook.com/letsplaymoreTH
|
|
|
The 10th National Academic Conference: The Power of Play
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
|
|
|
On June 28, 2024, from 8:20 a.m. - 12:15 p.m., there was a special lecture titled “Mahidol and the development of children and youth towards sustainable development” given by Prof. Banjong Mahaisavariya, M.D., President of Mahidol University. There was also an honorary lecture given by Prof. Nittaya Kotchapakdee titled “Begins with “Play””. The honorary lecture was jointly conducted with Niramon Metheesuwakul, host and producer of the documentary program “Thung Saeng Tawan” from 1992 – present. The lectures were held at the National Institute for Child and Family Development.
|
|
|
|
|
Upcoming Activities & Events |
|
|
"Run Together, Run for... Youth"” on Sunday August 25, 2024
at Mahidol University, Salaya. |
|
|
Running can be a form of magical medicine. This running event will be even more special
because all the proceeds from this run, without any deductions, will be given to the National Institute for Child and Family Development Mahidol University. This initiative aims to give happiness and empower autistic children through various projects of the institute
Beyond the Spectrum, in collaboration with the National Institute for Child and Family Development, invites everyone - friends and runners - to join the charity walkathon “Run Together for Autism, "Run Together, Run for... Youth"” on Sunday August 25, 2024 at Mahidol University, Salaya. Interested in applying to join? You must click on this link. https://www.runlah.com/events/rtfa
Follow the work at https://www.facebook.com/runtogetherforautism
For more information, please visit our Facebook fan page: RUN TOGETHER for AUTISM " If you love running, let's run together. Run for...youth.
|
|
|
|
|
1. the 2024 Child and Family Situation Report
The Center for children and family policy and knowledge,
Thai Health Promotion Fund
|
|
|
How do 'vulnerable' children, youth, and families face problems in life? And how well do government entities implement responsive policies? Are they still not 'seen' enough by the state and society? Kid for Kids – The center for child and family policy and knowledge through cooperation between the Thai Health Promotion Fund Office (Thai Health Promotion Foundation) and 101 PUB - 101 Public Policy Think Tank, invites you to come join us in seeking answers from the presentation of the 2024 Child and Family Situation Report, which will be followed by a discussion group to understand the lives of fragile children and families, identify solutions to the problems, and fulfill their dreams. The presentation will take place as a public seminar titled “Thai Children and Families that are not visible: Report on the Situation of Children and Families for the Year 2024.”
Full report please click: https://101pub.org/child-family-situation-report-2024/
|
|
|
|
|
2. Child welfare survey results a Suan Dusit Poll, by Suan Dusit University, surveyed |
|
|
Most people support the government increasing subsidies for raising newborn children! On 6 June 2024 – a Suan Dusit Poll, by Suan Dusit University surveyed public opinions across the country on "What do people think about subsidies for raising newborn children?" A sample group of 1,243 people (field survey) between 27 May - 2 June 2024. The results can be summarized as follows.
1.Do people know that the government has a subsidy for raising newborn children of 600 baht per month for children from birth until they are 6 years old, living in households with an average income per person not exceeding 100,000 baht per year since 2019? The survey found that 76.51% said they knew, and 23.49% said they didn't know.
2. What impact do people think this policy has on Thai society? It was found that 74.74% reported it helped relieve the burden on parents in raising children, 63.23% reported it resulted in newborn children receiving better care, and 41.19% reported that it resulted in children and families having more access to various state services.
3. How much do people think that government subsidies should be per month to be sufficient for raising newborn children? It was found that 43.20% reported it should be 1,000 - 3,000 baht, 29.44% reported it should be more than 3,000 baht, 23.17% reported it should be more than 600 baht but not more than 1,000 baht, and 4.19% reported 600 baht is appropriate[AM1] .
4. The public thinks that the government should provide subsidies to all families with children from birth to 6 years old without proof of income. When asked to provide reasons why, 74.09% reported that it helped ease the burden of child-rearing expenses during childhood, which is quite expensive. 52.53% reported it would help low-income families and 49.32% reported that all children should receive this right equally.
5. What other things do people want the government to provide for the care of newborn children? It was found that 66.85% reported that they wanted an increased subsidy so that it would be sufficient to support newborn children, 57.92% wanted an increased subsidy for poor families or people with disabilities, 46.10% wanted children aged 6 years and older to also receive subsidies, 43.20% wanted improved government services related to children to be more accessible, and 41.03% wanted subsidies to be provided since pregnancy.
Source: https://www.thaipost.net/x-cite-news/599384/
|
|
|
3. Child and Family Situation Report 2024
The collaboration between Thai Health Promotion Fund and 101 PUB presents the situation of children. Youth and families of four vulnerable groups are 'unseen' as much as they should be. Urban children and youth: A City of opportunity turns Into a dream barrier Bangkok is a hub of opportunity in all aspects, home to 83 higher education institutions, accounting for 21.3% of the country's total. It has a doctor-to-population ratio of 1:542, three times better than the national average.
The metropolis accounts for one-third of the country's gross domestic product and is home to 19.6 % of Thailand's skilled jobs. City life is full of hidden costs that prevent them from reaching their dreams.
Download the full report here:
https://kidforkids.org/child-family-situation-report-2024/
|
|
|
7. Research: Positive Parenting Program to Promote Child Development Among Children 1 to 3 Years Old in Vietnam
Researchers :
1. Troung Hoang Viet,
Vietnam National University
2. Sutham Nanthamongkolchai
3. Chockchai Munsawaengsub
4. Supachai Pitikultang
Mahidol University
Method: A Quasi-Experimental Research
Journal: Journal of Primary Care and Community Health, National Library of Medicine
Year: 2022
Click here for future study: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9121470/ |
|
|
|
|
1. A handbook on how to raise children aged 6–12 years for child growth and development by a tool called 'Balanced Triangle' as a parenting tools.
A guide to raising children 6-12 years old for good development in all aspects. 'Balance triangle' Did you know that this kind of behavior of children may mean that each side of the triangle is out of balance, which will affect the growth, development, and health of children? 'Balance Triangle' at the Office of the Thai Health Promotion Fund.
This book will answer the questions of parents in raising their children completely. Whether it's exercise, daily routine, food to rest, to adequate rest and sleep time of the child. The content is divided into chapters that are easy to understand.
'Running and playing', 'eating well', 'sleeping enough' Run: Invite parents to create an environment for their children to run and play by sharing the benefits of proper physical activity and introducing 12 easy play activities at home every day.
Eat well: how food affects your child's body and intelligence Find out the answer in the content 'Eat well' and help 'Healthy Plate Proportions'.
Let parents arrange each child's meal in a simple and balanced way. Steps to read nutrition labels correctly and meal planners to try yourself.
Enough sleep: Meet '5 The magic of the body. When you get enough sleep!' that makes you know how important it is to get enough quality sleep for children. At what age should a child sleep how many hours a day?
Parents will help arrange bedtime schedules. The environment in the bedroom and how to create appropriate sleeping habits for your child. The guide also includes steps to help parents assess their child's growth and whether weight and height are balanced, among other content. For parents who are looking for information and methods to make their children develop appropriately according to their age. Easy-to-read and easy-to-follow exercises, download and read for free! 'Balance triangle'
Full report please download:https://activekidsthailand.com/wp-content/uploads/2024/
|
|
|
|
|
|
2. Playful parenting videos; Parenting for Lifelong Health (PLH) and the Peace Culture Foundation
The Peace Culture Foundation, in collaboration with the NGO Parenting for Lifelong Health (PLH), developed a series of video vignettes to demonstrate examples of positive, playful parenting to be used in the PLH ParentChat and PLH Young Children programmes. These videos depict the application of various PLH parenting skills to be used as the basis for parent group discussions, as well as scenarios and challenges that parent of children aged 2-17 years in Thailand may face in their day-to-day lives.
Available in Thai and English, you can watch (and share!) them on the PLH YouTube channel. Click here: https://www.youtube.com/@parentingforlifelonghealth5478/videos
|
|
|
|
|
3. Family Strengthening Handbook
Supporting and strengthening families to care for their own children can keep them from needing alternative care – both now and in the future. The Family Strengthening Handbook is an ACT project aimed at guiding practitioners on how best to strengthen families at risk of needing alternative care. This resource was born from studying the work of 10 different organizations doing family-strengthening work in Thailand. The result is a comprehensive guide for how to strengthen families in vulnerable situations. It outlines some best practices from around Thailand that have proven to work in building the capacity of adults to improve outcomes for children.
Full narrative of this handbook click here: https://alternativecarethailand.com/download-family-strengthening-handbook/
|
|
|
|
|
|
4. Manual on Birth Registration and Procedures on Facilitating the Right to a Thai Nationality. A collection of relevant laws and policies addressing childhood statelessness
This manual aims to strengthen the understanding of relevant stakeholders, including stateless persons, their family members, academics, civil society organizations and officials involved in these procedures under the current policies and legal framework. This manual is part of the Ending Childhood Statelessness in Thailand: Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders project implemented by Legal Research and Development Centre at the Faculty of Law in Chiang Mai University and UNICEF Thailand with support of the European Union. This publication serves as a comprehensive reference for all relevant laws. The authors hope that this manual will be a useful resource for all sectors involved in birth registration and those working on the right to a Thai nationality.
Full narrative of this handbook click here: https://www.unicef.org/thailand/reports/manual-birth-registration-and-procedures-facilitating-right-thai-nationality
|
|
|
|
|
1. TPP - CoP Webinar update |
|
|
1. TPP CoP 9th Webinar
It was held on Tuesday, July 2, 2024 at 2.00 – 3.30 PM. With presented by two speakers presented the following topics:
1. Dr. Sofia Backhaus, University of Amsterdam: Topic; World Health Organization's Guidelines for parenting
2. Assoc. Prof. Tawanchai Jirapramukhpitak, Mahidol University: Topic Reducing Child Abuse by Watching Movies in Mae Sot District, Tak Province
Please visit the link below for the seminar at
TPP CoP's next webinar schedule are;
- Webinar 10th on 10 September 2024 at 2.00 - 4.00 PM. Topic "Consultation for the Development of Parenting Policy in Thailand"
- Webinar 11th on 24 September 2024 at 2.00 - 4.00 pm. Topic "Male Engagement's Parenting.
|
|
|
|
|
|
2. Net Pama' seminar online coming in September 2024.
A great opportunity has come for government agencies/foundations/network partners. who work in the field of child and family development and want to develop their potential or a multidisciplinary team. Be able to be a lecturer for organizing a parent's classroom!! With the community capacity building project to open a parent's classroom with a horse net, supported by the Thai Health Promotion Fund.
The project was carried out by Prof. Charnwit Pornpadol and his team. The project wants to explore the needs of those working in child and family development in areas that want to develop the potential of workers to be able to open a parent classroom using the Parent Management Training (PMT) course and Netpama. (between September 2024 and June 2025) Free of charge (for levels 1-2) If you are interested in the project, please organize a workshop in your province.
Please fill out the form at this link https://bit.ly/3yclfc7
For more information, please contact Ms. Nattaporn (Pooh) Tel. 06-2525-9000
|
|
|
|
|
3. The 46th Academic Conference on Early Childhood Issues on "What Children Can Know by Measuring and Evaluating Play"
National Institute for Child and Family Development Mahidol University invites caregivers Primary Teachers Parents and those who are interested Register for the Academic Conference on the Learning Exchange Platform. The 46th Early Childhood Issue "What Children Can Know by Measuring and Evaluating Play" on September 15, 2024, and interested parties can register by scanning the QR Code in the promotional poster or
clicking on this link. :https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/280.
Note: Please register before 13 September 2024. For more information, Admin Kimmy: Tel. 082-321-7721
|
|
|
|
|
International Updates & Events |
|
|
1. Lao PDR has achieved full prohibition of corporal punishment of children with the enactment of the Law on the Protection of the Rights and Interests of Children 2006 (Amended 2023).
The new Law was promulgated by Presidential Decree in August 2023. It came into force in December 2023, and was officially announced by the Government on 30 April 2024, the International Day to #EndCorporalPunishment. With this law reform, Lao PDR becomes the 66th state worldwide, and the first ASEAN state to realize children’s rights to protection from all violent punishment. Read our country report for Lao PDR. Find out how Lao PDR prohibited all corporal punishment, and what it is doing to put the law into practice
|
|
|
2. End violence against children Every child deserves a childhood.
The Sustainable Development Goals commit the global community to end all forms of violence against children. Now, past the halfway point to the 2030 deadline, violence remains a reality for half the world’s children. The futures of one billion boys and girls hang in the balance. There is an opportunity, and necessity, to accelerate; to deliver a transformative shift in child protection. The first-ever Global Ministerial Conference on Ending Violence Against Children represents a historic moment; to re-imagine a world where all children are safe in their homes, schools, communities, and online and make commitments commensurate with the global child protection challenge. The event will be held from 7-8 November 2024 in Bogota, Colombia. Convened by the Government of Colombia, with the support of the Government of Sweden, UNICEF, the United Nations Special Representative of the Secretary-General on Violence against Children, and the World Health Organization, this Ministerial Conference will drive policy change, marshal resources, and demonstrate that violence prevention is possible. Ministerial delegations – along with children, young people, survivors, and civil society allies – will unite behind a shared and bold vision to deliver an end to all forms of violence against children.
For more information please visit;
https://endviolenceagainstchildrenconference.org.
|
|
|
This is the second year with the 6th newsletter, published in August 2024. The next newsletter will be published again in September and December 2024.
If you would like to post your work-related parenting program including the research, activities conferences, seminars, webinars, etc with this CoP newsletter.
Please send the information to the TPP - CoP Project Coordinator,
Chutinan Sonsomrit, Peace Culture Foundation
at email: thaipositiveparentingcop@gmail.com
Thank you!
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|